วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย 

วันที่ 15 กันยายน 2556 (วันอาทิตย์)


ครั้งที่ 12

อาจารย์ได้พูดถ้งการทำคุกกิ้ง โดยตั้งคำถามว่า เราจะสอนเด็กในการทำคุกกิ้งได้อย่างไรบ้างคะ จากนั้นอาจารย์ให้ทุกคนแบ่งกลุ่มทำงานที่กำหนดคือ Mind Mapping ภายในห้องแล้วนำผลงานออกมาพรีเซนต์หน้าห้องของแต่ละกลุ่ม


การทำไข่ตุ๋น

ส่วนประกอบ

ไข่ไก่เบอร์ 0 หรือ 1 3 ฟอง

น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

คนอร์อร่อยชัวร์ 2 ½ ช้อนชา

แครอทหั่นเต๋าเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ

หมูสับ 50 กรัม

ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. นำลังถึงใส่น้ำตั้งบนเตาไฟให้เดือด ถ้าต้องการให้ไข่ตุ๋นนุ่มเนียน เมื่อน้ำเดือดแล้วให้ลดไฟลงเป็นไฟอ่อน

2. ตอกไข่ใส่อ่างผสมใส่แครอท และหมูสับ เทน้ำลงไปปรุงรสด้วยคนอร์อร่อยชัวร์คนส่วนผสมให้เข้ากัน ไม่ควรตีไข่ให้ขึ้นฟูจนเป็นฟองเพราะนึ่งแล้วหน้าจะไม่สวยไม่เรียบ จากนั้นเทใส่ภาชนะทนไฟ

3. นำไปนึ่งจนสุกสัก 15-20 นาทีก็จะได้ไข่ตุ๋นเนื้อเนียนน่าทาน

** หมายเหตุ ถ้าต้องการให้เนื้อไข่ตุ๋นเนียนมากๆให้กรองด้วยผ้าขาวบางก่อนใส่หมู และผัก คนให้เข้ากันเบาๆอย่ามีฟองก่อนนำไปนึ่ง


วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11
อาจารย์ได้ให้ไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนที่เราจะไปมาให้ละเอียด พร้อมบอกหน้าที่ตนเองที่ต้องรับผิดชอบในงานนึ้ วันที่ไปดูงาน 27-28 สิงหาคม 2556 

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในสังกัดของ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3 ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ

ปรัชญาของโรงเรียน
"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development)

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ เป็นคนดีและคนเก่ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวิทยาการสมัยใหม่ สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม ภูมิปัญญา และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี (A school where the pupils are happy and fulfill their potential, which is adapted to it's local environment and current technology, and which develops the complete individual, instilling individual morality, preserving community traditions and promoting good citizenship)”

ผู้บริหารโรงเรียน
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน วิเชียร ไชยบัง (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ
เป็นโรงเรียนที่ไม่เสียงระฆัง
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง
เป็นโรงเรียนที่ได้ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด
เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก
เป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

หลักสูตร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดย PBL (Problem based Learning) ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนาความฉลาดภายนอก(ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์)ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา เพราะสังคมโลกนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้น จำนวนปัญหาจะมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ยุ่งเหยิงขึ้น. กระบวนการเรียนรู้โดย PBL จะทำให้ผู้เรียนไม่ตื่นกลัวกับปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจต่อปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา

กระบวนการทำความเข้าใจต่อปัญหา และกระบวนการหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้อันหลากหลาย (Multi Knowledge)และ ทักษะที่หลากหลาย (Multi skills)ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเข้าใจหลักของเนื้อหาชุดนั้น จนเกิดทักษะอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับศตวรรษใหม่ (21st Century Skills)ได้แก่ - ทักษะการเรียนรู้และการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ - ทักษะชีวิต(ทำกินเป็น อยู่ได้ ใช้เป็น) เช่น ทักษะ ICT การทำงานร่วมกัน การจัดการความขัดแย้ง การสื่อสาร การคิดหลายระดับ การสร้างปัจจัยการดำเนินชีวิต. การดูแลสุขภาพ. การแสวงหาข้อมูล. การปรับตัว การออกแบบวิถีชีวิต. อุปนิสัย. การชี้นำตนเอง. จิตสำนึกต่อคนอื่น วัฒนธรรมอื่นและต่อโลก


         




     









ครั้งที่ 10

- อาจารย์ได้ผู้ถึงเรื่องการไปดูงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 27-28 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2556

  - อาจารย์ให้ไปศึกษาประวัติของ โรงเรียนที่ไปดูงานของเซตนี้ โรงเรียนลำปลายมาศ พัฒนา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา    ว่ามีการเรียนการสอนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมเชิงวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง

  - อาจารย์ในนักศึกษา ปรึษาหารือกันในเรื่องของการจัดแบ่งน้าที่และการวางแผนงาน ในการดำเนินงาน ว่าคนไหนทำอะไรในแต่ละหน้าที่

 -อาจารย์บอกว่า หน้าที่ ที่นักศึกษากลุ่มนี้โดยการไปดูงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ต้องทำ  เช่น  มีคนกล่าวขอบคุณ  คนทำใบเซ็นต์ชื่อ  เอกสารการประเมิน นำความรู้ไปใช้ต่อ สังเกตุสถานที่ ฝ่ายบริการ
ผู้บรรยายการเดินทาง

-  อาจารย์ให้แต่คนที่ได้รับมอบหมายงาน ให้ไปออกแบบฟอร์มของแต่ละหัวข้อที่แต่ละคนรับผิดชอบ

ครั้งที่ 9
 ได้เข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ณุตา พงษ์สุผล ชื่อโครงการว่า "โครงการกายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"
ซึ่งในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการแสดงรำศรีวิชัย และเซิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีการแสดงร้องเพลง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการสอนเรื่องมารยาทไทยทั้งการไหว้ การนั่ง การยืน การส่งของ 
         มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย

มารยาทไทยกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
1. การแสดงความเคารพ 
2. การยืน 
3. การเดิน 
4. การนั่ง 
5. การนอน 
6. การรับของและส่งของ 
7. การแสดงกิริยาอาการ
8. การรับประทานอาหาร 
9. การให้และรับบริการ
10. การทักทาย
11. การสนทนา
12. การใช้คำพูด
13. การฟัง
14. การใช้เครื่องมือสื่อสาร
15. การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ

การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกันนิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกันไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอกให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไปรักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์และฟังเทศน์
การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถาน ในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่าให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว การไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้ระดับอก