วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8

วันนึ้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค

ครั้งที่ 7 


กิจกรรมการสอน


ทักษะการสังเกต
             
การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการสังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
นิวแมน (Neuman 1978: 26) ได้เสนอหลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

             1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
             2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
             3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่าง

ระมัดระวัง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า

สุชาติ โพธิวิทย์ (ม.ป.ป.:15) ได้กล่าวถึงการสังเกตที่สำคัญที่ควรฝึกให้แก่เด็ก มี 3 ทางคือ 

             1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป คือ ความสามารถในการใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5 อย่าง สังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง คือ การใช้ตาดูรูปร่าง ลักษณะ หูฟังเสียง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น และการสัมผัสจับต้องดูว่าเรียบ ขรุขระ แข็ง นิ่ม ฯลฯ
             2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การใช้เทอร์โมมิเตอร์ ตาชั่ง ไม้บรรทัด กระบอกตวง ช้อน ลิตร ถัง ฯลฯ ใช้เครื่องมือเหล่านี้วัดสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นปริมาณ เป็นจำนวน
             3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืช การเจริญ
เติบโตของสัตว์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงขนาดของผลึก การกลายเป็นไอของน้ำ ฯลฯ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6

- อาจารย์งดการเรียน การสอน เนื่องจากติดธุระของคณะศึกษาศาสตร์จึงไม่สามารถเข้าสอนได้

- อาจารย์ได้ฝากงานมาไว้ คือ ให้นักศึกษาทำ Blog ให้เสร็จ  โดยต้องโพสเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์

การทดลองวิทยาศาสตร์  ของเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์  ให้ครบ 3 ชิ้น

- อาจารย์จะตรวจภายในวันเสาร์  ถ้านักศึกษายังไม่ได้ดำเนินการจะถูกเช็คขาดในวันที่งดการเรียน

การสอน  และไม่มีคะแนนในงานของสื่อวิทยาศาสตร์


การทดลอง ชั้นน้ำ 6 สี


      อุปกรณ์

1. น้ำผึ้ง

2. กลีเซอรีน (glycerin)

3. น้ำยาล้างจาน

4. น้ำผสมสีเขียว

5. น้ำมันพืช

6. แอลกอฮอล์

7.ภาชนะใส่ของเหลว


วิธีทำ

1.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม คือ ของเหลวและภาชนะที่จะใส่

2.น้ำผึ้งใส่ภาชนะเพราะเป็นของเหลวที่หนาแน่นที่สุด  ตามด้วยกลีเซอรีน  น้ำยาล้างจาน  น้ำผสมสี  น้ำมันพืช

และแอลกอฮอร์

หมายเหตุ : ขั้นตอนการใส่น้ำลงภาชนะ  เป็นขั้นตอนที่ควรระวังมากที่สุด

หลักการวิทยาศาสตร์

              สารต่างชนิดมีความหนาแน่นที่ไม่เหมือนกัน  ทำให้เกิดการแยกตัวไม่ผสมกัน  การเรียงตัวเป็น

ชั้น ๆ จะไล่จากด้านล่างที่มีความหนาแน่นมากที่สุดขึ้นมาด้านด้านบนที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า

ครั้งที่ 5

- อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


- มีนักศึกษาบางคนนำชิ้นงานมานำเสนอยังไม่ถูกต้อง จึงให้นำเสนอของเล่นชิ้นใหม่  


- อาจารย์ให้นักศึกษาหาการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นตามมุมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์มานำ

เสนอในอาทิตย์หน้า


หมายเหตุ : ใครที่นำการทดลอง หรือ ของเล่นมานำเสนอแล้ว ก็ให้เอาส่วนที่เหลือนำเสนอในอาทิตย์

หน้าให้ครบ 3 ชิ้น

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

     วันนี้อาจารย์ได้นำกล้องของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

จากนั้นอาจารย์ก็ได้เปิด CD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ให้นักศึกษาดู

ก็จะมีการทดลอง โดยเอาผลไม้ไปปั่นแล้วบีบดูว่ามีน้ำอยู่ในผลไม้

หรือไม่ อย่างไร สรุป สิ่งต่างๆที่อยู่บนโลกนี้ล้วนมีน้ำเป็น

ส่วนประกอบ ซึ่งมนุษย์จะมีน้ำอยู่ในร่างกาย 70%

ส่วนผักผลไม้จะมีอยู่ 90%

คุณสมบัติของน้ำ

ของแข็ง

ของเหลว

แก๊ส

โดยการทดลองก็คือ ต้มน้ำแข็งจนเดือด จนกลายเป็นของเหลว ถ้า

เราต้มต่อไปก็จะมีไอขึ้นมา จากนั้นเอาจานที่มีน้ำแข็งไปวางไว้ข้าง

บน น้ำแข็งถูกไอน้ำจึงกลายเป็นหยดน้ำ (การควบแน่น)

ต่อมาเป็นการทดลอง แครอทลอยน้ำ ใส่น้ำลงไปในแก้ว จากนั้นใส่

เกลือลงไป ซึ่งเกลือจะมีน้ำหนักจึงมีโมเลกุลมากกว่า จึงมีแรงดัน

แครอทให้ลอยน้ำได้

ต่อมาเป็นการทดลองเกี่ยวกับแรงกดดันของน้ำ เราจะใส่น้ำเข้าไปใน

ขวดหนึ่งใบแล้วเจาะรูสามระดับเรียงกันลงมา ลองปิดรู เพื่อทำการ

ทดลองจะเห็นได้ว่าน้ำที่อยู่ด้านล่างสุดมีแรงกดดันมากสุดเพราะมี

แรงน้ำจากข้างบนกด สรุป แรงกดดันของน้ำ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ยิ่ง


ลึกมาก ยิ่งมีแรงกัดดันมาก

        ครั้งที่ 3 

  อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาจากที่เรียนในสัปดาห์ก่อนหน้านี้  





    



ครั้งที่ 2

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

   วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือ

  พิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัด

  ความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่

   ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด   ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล 

  คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้   มีความสามารถใน

การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์

พยานที่ตรวจสอบได้    วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่  ซึ่งเป็นสังคมแห่ง

ความรู้  ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์  เพื่อที่จะมีความรู้ความ

เข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น   และนำความรู้ไปใช้อย่างมี

เหตุผล   สร้างสรรค์  มีคุณธรรม 
ครั้งที่1

กิจกรรมการเรียนการสอน

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

        1. การปฐมนิเทศน์   ชี้แจงแนวการสอนและเนื้อหาสาระที่ต้องศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
        2.  อาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาร่วมสร้างข้อตกลงในการเรียนในรายวิชานี้
        3.  อาจารย์ผู้สอนชี้แจงเรื่อง การสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนในรายวิชานี้


เครื่องมือที่ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ 
     -  ภาษา
     -  คณิตศาสตร์


ผลลัพธ์การเรียนรู้

        1.  คุณธรรม จริยธรรม
        2.  ความรู้
        3.  ทักษะทางปัญญา
        4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
        5.  ทักษะการคิดเชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เคโนโลยีสารสนเทศ
        6.  การจัดการเรียนรู้

** การที่จะจัดการเรียนการสอนได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอดคล้องกับ                              
              ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ความคาดหวัง) **


มาตรฐาน  คือ
         1. คุณภาพ
         2. ตัวชี้วัด  (เกณฑ์)
         3. ผ่านการรับรอง


ทักษะที่ได้รับ
         การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
        1.   การออกแบบการเรียนการอนเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องและสมบูรณ์
        2.   การทำแฟ้มสะสมผลงานอิล็กทรอนิกส์ให้ทันสมัยและน่าสนใจ