วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความงานวิจัย

สรุปบทความงานวิจัย การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน
2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนกิจกรรมพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3) ทดลองใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 40 คน ใช้แบบแผนการวิจัยขั้นพื้นฐาน (Pre Experimental Design) แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง (The One- Group Pretest-Posttest Design)
 4) ประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนควรใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน ให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติจริงและใช้ความรู้วิทยาศาสตร์บนพื้นฐานความเป็นไทย
2) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.59 /80.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3) ผลการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4) ผลการประเมินและปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในภาพรวม แผนที่ 8 ปัจฉิมนิเทศ มีคะแนนสูงสุด ระดับคุณภาพดี นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 18

วันนี้มีเรียนชดเชย ทำการทดลองให้อาจารย์ดู และ ต้องส่งงาน สิ่งประดิษฐิ์ 2 ชิ้น คือ ของเล่นวิทยาศาสตร์และมุม

**วิทยาศาสตร์ของเล่น**

อุปกรณ์

- กระดาษแข็งสีขาว

- กระดาษสี เช่น สีชมพู ฟ้า ม่วง เขียว น้ำตาล

- กรรไกร กาว เชือก

- คัดเตอร์อันเล็ก


ขั้นตอนการทำ

- ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมขนาดปานกลางพอที่จะหมุนได้

- วาดลายเส้นบนกระดาษที่เราตัดให้สวยงาม

- นำกระดาษสีที่เราเตรียมเอาไว้มาติดทับบนกระดาษขาวให้สวยงาม

- นำเชือกมาร้อยแล้วผูกเป็นปมให้แน่น เพื่อที่จะได้ไม่หลุดเวลาหมุนแรงๆ

- พอทำเสร็จแล้วเราก็หมุนแรงๆ เร็วๆ เพื่อที่จะให้กระดาษสีที่เราติดไปผสมกันและออกมาอย่างสวยงาม


**ขั้นตอนการทำวงล้อวงล้อมหัศจรรย์**



จัดทำโดย นางสาว รัตนาวดี เภรีภาส 5411205700 กลุ่มเรียน วันพุธ (เช้า)



วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 17

วันพพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้

อาจารย์ให้นักศึกษา"สรุปองค์ความรู้ในการเรียนวิชานี้"

**กระบวนการทางวิทยยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย**

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หมายถึงคุณลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ ซึ่งมี 13 ทักษะดังนี้

ทักษะการสังเกต

               ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ

1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ

2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน

3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน

4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ

5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น

นอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ

ทักษะการวัด

                การวัดหมายถึงความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยที่ใช้วัดกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง ในการวัดจะต้องพิจารณาว่า

1. จะวัดอะไร เช่น วัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล ชั่งน้ำหนักก้อนหิน วัดอุณหภูมิของน้ำ วัดระยะเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำ วัดปริมาตรของของเหลวในขวด วัดขนาดของมุม วัดความชื้นของอากาศ วัดแรงกดดันของอากาศ วัดแรงดันของไฟฟ้า ฯลฯ

2. จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปของลูกบอล ใช้ตาชั่งสปริงชั่งน้ำหนักของก้อนหิน

3. เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่นทำไมจึงเลือกใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปลูกบอล จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือไม

่ 4. จะวัดอย่างไร เช่น เมื่อมีเชือกและไม้บรรทัดแล้วจะทำการวัดอย่างไร มีเทคนิคอย่างไร

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวัดแต่ละครั้ง คือความเที่ยงตรง แน่นอนในการวัดและค่าที่ถูกต้อง การวัดปริมาณใด ๆ มักจะเกิดความคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ เช่นเกิดจากการอ่านค่าผิดพลาด หรือบันทึกผิด หรือเกิดจากการใช้วิธีวัดไม่ถูกต้อง วิธีแก้ความคลาดเคลื่อนทำได้โดยการวัดหลาย ๆ ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย การที่นักเรียนจะมีทักษะในการวัด จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอยู่บ่อย ๆ เช่น ก่อนการวัดต้องศึกษาเครื่องมือ วิธีการใช้ สเกลการวัด เป็นต้น ความสามารถที่แสดงว่านักเรียนเกิดทักษะการวัด คือ

1. เลือกเครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด

2. บอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือได้

3. บอกวิธีวัดและวิธีใช้เครื่องมือวัดได้ถูกต้อง

4. ทำการวัดปริมาณต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

5. ระบุหน่วยของตัวเลขที่ได้จากการวัดได้

การวัดปริมาณต่าง ๆ ได้ตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ

1. เทคนิคการวัด

2. มาตราฐานของเครื่องมือ

3. ความระมัดระวัง ความละเอียดรอบคอบ

ทักษะการจำแนก

                การจำแนก หมายถึงการจำแนกหรือการจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ การกำหนดเกณฑ์อาจทำได้โดย การกำหนดขึ้นเอง หรือมีผู้อื่นกำหนดให้ การจำแนกประเภทอาจทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การแบ่งประเภทสิ่งของ เกณฑ์ที่ใช้มักเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว วัสดุที่ใช้ทำ ราคา หรือการนำไปใช้ ส่วนพวกสิ่งที่มีชีวิตมักจะใช้เกณฑ์ ลักษณะ รูปร่าง อาหาร ที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์ เป็นต้น การจำแนกประเภทไม่จำกัดอยู่เฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ในสาขาวิชาอื่น และในชีวิตประจำวันได้ เช่น การจัดสิ่งของภายบ้านที่ต้องแยกออกตามประโยชน์ใช้สอย เช่น ของใช้ภายในครัว ของใช้ภายในห้องน้ำ ของใช้ภายในห้องนอน หรือของใช้ในร้านค้าต่าง ๆ ห้างสรรพสินค้าในปัจจุบันจะพบว่าสินค้าต่าง ๆ ที่วางขายในแต่ละส่วนนั้น จะถูกแบ่งแยกออกตามประโยชน์ใช้สอยทั้งสิ้น เช่นส่วนขายเสื้อผ้าเด็ก ส่วนขายเสื้อผ้าผู้หญิง ส่วนขายเครื่องไฟฟ้า เป็นต้น ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจะช่วยให้เกิดความสะดวกในการหยิบใช้ และเป็นระเบียบสวยงาม

จุดมุ่งหมายของทักษะการจำแนก

โดยใช้เกณฑ์ที่ตนเองกำหนดขึ้น

1. แบ่งพวกสิ่งของ โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนดให้ หรือโดยใช้เกณฑ์ที่ตนเองกำหนดขึ้น

2. เรียงลำดับสิ่งของ โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนดให้ หรือในการแบ่งพวกสิ่งของที่ผู้อื่นจำแนกไว้แล้ว

3. บอกเกณฑ์ ในการเรียงลำดับสิ่งของที่ผู้อื่นเรียงลำดับไว้แล้ว

ทักษะการคำนวณ

ลักษณะของการคำนวณ มีดังต่อไปนี้

1. นับจำนวน

2. ใช้ตัวเลขแสดงจำนวนที่นับ

3. บอกวิธีคำนวณ

4. คิดคำนวณ

5. แสดงวิธีคิดคำนวณ

6. บอกวิธีการหาค่าเฉลี่ย

7. หาค่าเฉลี่ย

8. แสดงวิธีหาค่าเฉลี่ย

 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

                ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือคำนวณ เราแบ่งข้อมูลตามระดับความยากง่ายในการทำความเข้าใจได้ 2 ประเภทคือ

1. ข้อมูลดิบ เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจยาก ได้จากการสังเกต การวัด การจำแนก การคำนวณ ฯลฯ

2. ข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งได้มาจากการนำข้อมูลดิบมาดัดแปลงใหม่นั่นเอง การดัดแปลงข้อมูลดิบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นดังกล่าว สามารถทำได้ 4 วิธี คือ

                2.1 หาความถี่

                2.2 จัดลำดับ

                2.3 แยกประเภท

                2.4 คำนวณหาค่าใหม่


ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล

การสื่อความหมายข้อมูลหมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาแสดงหรือนำเสนอในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นอีก รูปแบบใหม่ที่สามารถแสดงหรือนำเสนอมีหลายรูปแบบเช่น

1. ตาราง                2. แผนภูมิ

3. วงจร                  4. กราฟ

5. สมการ              6. บรรยาย


ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล

                การลงความเห็นจากข้อมูล หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัส สัมผัสสิ่งของหรือเหตุการณ์ให้ได้ข้อมูลอย่างหนึ่ง แล้วเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปให้กับข้อมูลนั้น ความคิดเห็นส่วนตัวอาจได้มาจาก ความรู้เดิม ประสบการณ์เดิม หรือเหตุผลต่าง ๆ ดังนั้นการลงความเห็นจากข้อมูล จึงมีลักษณะ ดังนี้

1. อธิบายหรือสรุป เกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

2. เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป

เช่น นำใบไม้ชนิดหนึ่งที่นักเรียนไม่เคยเห็นหรือรู้จักมาก่อนให้นักเรียนสังเกต แล้วถามว่าได้ข้อมูลอะไรจากใบไม้นั้นบ้าง

-ใบไม้มีสีเขียว ( ทักษะการสังเกต )

- ใบไม้มีขน ( ทักษะการสังเกต )

- ใบไม้มีรู 2 รู ( ทักษะการสังเกต )

- ใบไม้มีกลิ่นหอม ( ทักษะการสังเกต )

- ใบไม้คล้ายใบอ้อย ( ลงความเห็นจากข้อมูล )

- ใบไม้ถูกหนอนกินเป็นรู ( ลงความเห็นจากข้อมูล )

                การลงความเห็นจากข้อมูลที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เท่านั้น ไม่ได้เป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากเป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเรียกว่าการทำนาย


ทักษะการพยากรณ์

                การพยากรณ์ หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูล หลักการ กฎ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย

ทักษะการตั้งสมมุติฐาน

                การตั้งสมมุติฐาน หมายถึงการทำนายผล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่ทราบ หรือไม่มีความสัมพันธ์ของข้อมูล กฎ หลักการ หรือทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนาย ดังตัวอย่าง

ข้อมูล อากาศบ่ายวันนี้อบอ้าว มีเมฆดำลอยต่ำอยู่เต็มท้องฟ้า มดดำคาบไข่ออกจากรังย้ายไปอยู่บนที่สูง

พยากรณ์ ฝนกำลังจะตก ( อาศัยประสบการณ์ หรือความรู้เดิม )

ข้อมูล นายแดงเคยกินปูเค็มมาแล้ว 6 ครั้ง เขาพบว่าภายหลังที่กินปูเค็มทุกครั้งเขาจะมีอาการท้องเสีย

พยากรณ์ ถ้านายแดงกินปูเค็มอีกเขาจะท้องเสีย ( อาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูล )

คำถาม ถ้านายแดงกินกุ้งแช่น้ำปลา จะเกิดผลอย่างไร

จะตอบคำถามนี้ได้ต้องตั้งสมมุติฐาน ( ทำนายอนาคต โดยไม่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูล กฎ หลักการ หรือทฤษฎี )


ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

                ในการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานนั้น อาจมีคำ หรือข้อความ ในสมมุติฐานที่มีความหมายได้หลายอย่าง ทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน และอาจสังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ยาก จึงจำเป็นต้องกำหนดความหมายของคำ หรือข้อความนั้น ให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ และสามารถสังเกตหรือตรวจสอบได้ง่าย อันเป็นการจำกักขอบเขตของการศึกษาทดลอง การกำหนดความหมายของคำหรือข้อความจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ เช่น

ตั้งสมมุติฐานว่า การทาบกิ่งมะม่วงทำให้ได้มะม่วงดี

คำว่า "มะม่วงดี" มีความหมายได้อย่าง และตรวจสอบว่ามะม่วงดี ทำได้ยาก จึงควรกำหนดความมหายของคำว่า มะม่วงดี เสียก่อน เช่น มะม่วงดีหมายถึง มะม่วงที่ให้ผลเร็ว หรือ มะม่วงดี หมายถึงมะม่วงที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ เป็นต้น

ดังนั้นการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ จึงมีจุดประสงค์เพื่อ

1. ให้เข้าใจตรงกัน

2. ให้สังเกตหรือวัด หรือตรวจสอบได้ง่าย

ลองพิจารณานิยามต่อไปนี้

ก. นิยามทั่วๆ ไป อ๊อกซิเจน หมายถึง ธาตุชนิดหนึ่งมีสถานะเป็นก๊าซ มีน้ำหนักอะตอม 16 และมีเลขอะตอมเป็น 8

ข. นิยามเชิงปฏิบัติการ ออกซิเจน หมายถึง ก๊าซที่ช่วยให้ไฟติด เมื่อนำธูปที่ติดไฟเป็นถ่านแดงแหย่ลงไปในกระกอกเก็บก๊าซนี้ จะเกิดเป็นเปลวไฟขึ้น

จะเห็นว่านิยาม ก. แตกต่างจากนิยาม ข. คือ นิยาม ก. ทดสอบได้ยาก ส่วนนิยาม ข. ทดสอบได้ง่าย

นิยามต่อไปนี้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการหรือไม่

ก. น้ำสะอาด หมายถึง น้ำที่ต้มแล้ว และไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส

ข. น้ำสะอาห หมายถึง น้ำที่ปราศจากเชื้อโรค

( ก. เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ เพราะตรวจสอบได้ง่าย โดยการสังเกต ส่วน ข. ไม่เป๋นนิยามเชิงปฏิบัติการสำหรับนักเรียนระดับต่ำ แต่อาจเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการของนักเรียนนักศึกษาระดับสูงได้ )

นิยามต่อไปนี้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการหรือไม่

ก. ไก่สมบูรณ์ คือ ไก่ที่อ้วนมาก

ข. ไก่สมบูรณ์ คือ ไก่ที่มีน้ำหนักมาก

( ข เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ เพราะตรวจสอบได้ง่ายโดยการชั่งน้ำหนักด้วยตาชั่ง ส่วน ก. ไม่เป็น เพราะ "อ้วน" ตรวจสอบได้ยาก ไก่น้ำหนักน้อยแต่ขนพอง ก็มองดูอ้วนได้ )


ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

                ตัวแปร หมายถึง วัสดุ สิ่งของ หรือสถานการณ์ หรือปริมาณ ที่สามารถทำให้ผลของการทดลองออกมาผิด หรือถูกต้อง น่าเชื่อถือหรือไม่ แบ่งได้ 3 ชนิด คือ

1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือตัวแปรที่เป็นต้นเหตุ ให้เราคาดว่าทำให้ผลออกมาต่างกัน

2. ตัวแปรตาม คือผลที่เกิดจากตัวแปรต้น

3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือสิ่งที่เราต้อง หรือควบคุมให้เหมือนกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ผลการทดลองเกิดจากตัวแปรต้นเท่านั้น

เช่น

ดินอะไรปลูกข้าวเจ้าได้ดี

ถ้าจะออกแบบการทดลอง โดยการนำเมล็ดข้างเจ้ามาเพาะลงในกระถาง โดยแยกใส่ดินให้ต่างกันชนิดละ 1 กระถาง แล้วดูผลการเจริญเติบโต ที่คาดว่าจะแตกต่างกัน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือ เมล็ดข้าว กระถาง ดิน การดูแลรักษา สถานที่ และระยะเวลา ดังนั้นจึงต้องกำหนดและควบคุมตัวแปรดังนี้

- ตัวแปรต้น คือ ชนิดของดิน

- ตัวแปรตาม คือ การเจริญเติบโตของข้าวเจ้า

- ตัวแปรควบคุม คือ เมล็ดข้าว กระถาง การดูแลรักษา สถานที่ทดลอง ระยะเวลาที่ทดลอง

วัสดุใดนำความร้อนได้ดี

ถ้าจะทดลองโดยการนำแท่งวัสดุต่างชนิดกัน มาติดด้วยเทียนขี้ผึ้ง แล้วนำปลายวัสดุแต่ละชนิดไปลนไฟ เพื่อดูว่าเทียนขี้ผึ้งที่ติดอยู่บนวัสดุใด หลอมเหลวและหลุกออกไปก่อนกัน ตัวแปรที่เกี่ยวข้องคือ

- ตัวแปรต้น คือ ชนิดของแท่งวัสดุ

- ตัวแปรตาม คือ ระยะเวลาที่เทียนขี้ผึ้งหลุดจากแท่งวัสดุ

- ตัวแปรควบคุมคือ ความร้อนของไฟ ระยะของก้อนเทียนขี้ผึ้ง ขนาดและรูปร่างของก้อนเทียนขี้ผึ้ง ความแน่นของก้อนเทียนขี้ผึ้งที่ติดกับแท่งวัสดุ


ทักษะการทดลอง

การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น

ในการทดลองจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

1. การออกแบบการทดลอง

2. การปฏิบัติการทดลอง

3. การบันทึกผลการทดลอง

การออกแบบการทดลอง เป็นการวางแผนการทดลอง เพื่อ

- บอกวิธีทดลอง ให้รู้ว่าจะทำการทดลอง หรือปฏิบัติอย่างไร

- เลือกอุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุ หรือสารเคมีที่จะใช้ทดลอง ให้รู้ว่าจะต้องใช้อะไร จำนวนเท่าไร และใช้อย่างไร

การออกแบบการทดลองที่ดี ต้องสามารถทดลองได้สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว เที่ยงตรง เห็นผลได้ชัดเจน และประหยัด

การปฏิบัติการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัตจริง ซึ่งจะต้องใช้ทักษะด้านอื่นๆ ประกอบอีกมาก เช่น ทักษะการวัด ทักษะการสังเกต ทักษะการใช้เครื่องมือต่างๆ เป็นต้น

การบันทึกผลการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการปฏิบัติกาารทดลอง กล่าวคือ เมื่อผู้ทดลองได้สังเกต ได้วัดปริมาณ ได้นับจำนวน หรือได้ให้คะแนน อย่างไร ก็บันทึกผลตามนั้น ลงในแบบบันทึกที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งแบบบันทึกนี้จัดเป็นวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ต้องเตรียมไว้

อาจสรุปได้ว่าผู้มีทักษะการทดลองควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

- ออกแบบการทดลองได้เหมาะสม ( เที่ยงตรง รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัด ฯลฯ )

- เลือกวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลองได้เหมาะสม

- ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว ปลอดภัย

- บันทึกผลการทดลองได้เหมาะสม

- ทำความสะอาด จัดเก็บ อุปกรณ์หรือเครื่องมือได้
 ครั้งที่ 16

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "Cookimg" หลังจากที่ได้เขียนแผนและนำเสนอแผนเกี่ยวกับการทำอาหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

   ขั้นตอนการทำอาหาร "ไข่ตุ๋น"
   -คุณครูให้เด็กๆนั่งเป็นครึ่งวงกลม
   -คุณครูอธิบายขั้นตอนการทำ "ไข่ตุ๋น"
 
-คุณครูใช้คำถาม  ถามเด็กทุกครั้งในการทำอาหาร คำถามที่คุณครูใช้บ่อยคือ
     "เด็กๆค่ะ เด็กเห็นอะไรตรงข้างหน้าครูบ้างคะ"
    "เด็กๆคะ ถ้าครูใส่อันนี้ลงไป (ส่วนประกอบของ"ไข่ตุ๋น")เด็กๆคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นคะ"
   "เด็กๆคะ เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมคะ"





 ครั้งที่ 15

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนในวันนี้

^^เรียนชดเชย^^

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแก้ไขบล็อกของตัวเองให้เรียบร้อย
-ทำกิจกรรม "เขียนแผนการทำอาหาร" (เป็นกลุ่ม)














ครั้งที่ 14

วันที่ 11 กันยายน 2556 

**ไม่มีการเรียน การสอน เพราะว่าอาจารย์ติดธุระทางราชการ**


**งานที่ต้องรับผิดชอบ**

ให้ไปเเก้ไขของเล่นวิทยาศาสตร์ สื่อเข้ามุม สื่อทดลอง ที่ยังซ้ำกับเพื่อน
ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556


^^ไม่มีการเรียนการสอน^^
 
                                               >>เนื่องจาก อาจารย์ติดภารกิจทางราชการ<<

(อาจารย์ให้นักศึกษาไปทำบล็อกของตัวเองให้เรียบร้อย)

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย 

วันที่ 15 กันยายน 2556 (วันอาทิตย์)


ครั้งที่ 12

อาจารย์ได้พูดถ้งการทำคุกกิ้ง โดยตั้งคำถามว่า เราจะสอนเด็กในการทำคุกกิ้งได้อย่างไรบ้างคะ จากนั้นอาจารย์ให้ทุกคนแบ่งกลุ่มทำงานที่กำหนดคือ Mind Mapping ภายในห้องแล้วนำผลงานออกมาพรีเซนต์หน้าห้องของแต่ละกลุ่ม


การทำไข่ตุ๋น

ส่วนประกอบ

ไข่ไก่เบอร์ 0 หรือ 1 3 ฟอง

น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

คนอร์อร่อยชัวร์ 2 ½ ช้อนชา

แครอทหั่นเต๋าเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ

หมูสับ 50 กรัม

ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. นำลังถึงใส่น้ำตั้งบนเตาไฟให้เดือด ถ้าต้องการให้ไข่ตุ๋นนุ่มเนียน เมื่อน้ำเดือดแล้วให้ลดไฟลงเป็นไฟอ่อน

2. ตอกไข่ใส่อ่างผสมใส่แครอท และหมูสับ เทน้ำลงไปปรุงรสด้วยคนอร์อร่อยชัวร์คนส่วนผสมให้เข้ากัน ไม่ควรตีไข่ให้ขึ้นฟูจนเป็นฟองเพราะนึ่งแล้วหน้าจะไม่สวยไม่เรียบ จากนั้นเทใส่ภาชนะทนไฟ

3. นำไปนึ่งจนสุกสัก 15-20 นาทีก็จะได้ไข่ตุ๋นเนื้อเนียนน่าทาน

** หมายเหตุ ถ้าต้องการให้เนื้อไข่ตุ๋นเนียนมากๆให้กรองด้วยผ้าขาวบางก่อนใส่หมู และผัก คนให้เข้ากันเบาๆอย่ามีฟองก่อนนำไปนึ่ง


วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11
อาจารย์ได้ให้ไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนที่เราจะไปมาให้ละเอียด พร้อมบอกหน้าที่ตนเองที่ต้องรับผิดชอบในงานนึ้ วันที่ไปดูงาน 27-28 สิงหาคม 2556 

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ "โรงเรียนนอกกะลา" เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในสังกัดของ กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา โดยการ ได้เปิดทำการเรียนการ สอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2546 จำนวน 3 ชั้นเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาล 1 ชั้นอนุบาล 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกเด็กจากเด็กทั่วไปโดยวิธีจับฉลาก นักเรียนที่เข้าเรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโรงเรียนฯ ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ

ปรัชญาของโรงเรียน
"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ " ( Education for complete human development)

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เต็มศักยภาพ เป็นคนดีและคนเก่ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวิทยาการสมัยใหม่ สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม ภูมิปัญญา และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี (A school where the pupils are happy and fulfill their potential, which is adapted to it's local environment and current technology, and which develops the complete individual, instilling individual morality, preserving community traditions and promoting good citizenship)”

ผู้บริหารโรงเรียน
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน วิเชียร ไชยบัง (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
สิ่งที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่วๆไป
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีการสอบ
เป็นโรงเรียนที่ไม่เสียงระฆัง
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน
เป็นโรงเรียนที่ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง
เป็นโรงเรียนที่ได้ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน
เป็นโรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบาที่สุด
เป็นโรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก
เป็นโรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

หลักสูตร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดย PBL (Problem based Learning) ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนาความฉลาดภายนอก(ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์)ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา เพราะสังคมโลกนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้น จำนวนปัญหาจะมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ยุ่งเหยิงขึ้น. กระบวนการเรียนรู้โดย PBL จะทำให้ผู้เรียนไม่ตื่นกลัวกับปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจต่อปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหา

กระบวนการทำความเข้าใจต่อปัญหา และกระบวนการหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้อันหลากหลาย (Multi Knowledge)และ ทักษะที่หลากหลาย (Multi skills)ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเข้าใจหลักของเนื้อหาชุดนั้น จนเกิดทักษะอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับศตวรรษใหม่ (21st Century Skills)ได้แก่ - ทักษะการเรียนรู้และการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ - ทักษะชีวิต(ทำกินเป็น อยู่ได้ ใช้เป็น) เช่น ทักษะ ICT การทำงานร่วมกัน การจัดการความขัดแย้ง การสื่อสาร การคิดหลายระดับ การสร้างปัจจัยการดำเนินชีวิต. การดูแลสุขภาพ. การแสวงหาข้อมูล. การปรับตัว การออกแบบวิถีชีวิต. อุปนิสัย. การชี้นำตนเอง. จิตสำนึกต่อคนอื่น วัฒนธรรมอื่นและต่อโลก


         




     









ครั้งที่ 10

- อาจารย์ได้ผู้ถึงเรื่องการไปดูงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 27-28 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2556

  - อาจารย์ให้ไปศึกษาประวัติของ โรงเรียนที่ไปดูงานของเซตนี้ โรงเรียนลำปลายมาศ พัฒนา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนครราชสีมา    ว่ามีการเรียนการสอนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมเชิงวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง

  - อาจารย์ในนักศึกษา ปรึษาหารือกันในเรื่องของการจัดแบ่งน้าที่และการวางแผนงาน ในการดำเนินงาน ว่าคนไหนทำอะไรในแต่ละหน้าที่

 -อาจารย์บอกว่า หน้าที่ ที่นักศึกษากลุ่มนี้โดยการไปดูงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ต้องทำ  เช่น  มีคนกล่าวขอบคุณ  คนทำใบเซ็นต์ชื่อ  เอกสารการประเมิน นำความรู้ไปใช้ต่อ สังเกตุสถานที่ ฝ่ายบริการ
ผู้บรรยายการเดินทาง

-  อาจารย์ให้แต่คนที่ได้รับมอบหมายงาน ให้ไปออกแบบฟอร์มของแต่ละหัวข้อที่แต่ละคนรับผิดชอบ

ครั้งที่ 9
 ได้เข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ณุตา พงษ์สุผล ชื่อโครงการว่า "โครงการกายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"
ซึ่งในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการแสดงรำศรีวิชัย และเซิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีการแสดงร้องเพลง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการสอนเรื่องมารยาทไทยทั้งการไหว้ การนั่ง การยืน การส่งของ 
         มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย

มารยาทไทยกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
1. การแสดงความเคารพ 
2. การยืน 
3. การเดิน 
4. การนั่ง 
5. การนอน 
6. การรับของและส่งของ 
7. การแสดงกิริยาอาการ
8. การรับประทานอาหาร 
9. การให้และรับบริการ
10. การทักทาย
11. การสนทนา
12. การใช้คำพูด
13. การฟัง
14. การใช้เครื่องมือสื่อสาร
15. การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ

การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกันนิ้วทุกนิ้วแนบชิดติดกันไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอกให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไปรักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์และฟังเทศน์
การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถาน ในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่าให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว การไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้ระดับอก

                                              

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8

วันนึ้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค

ครั้งที่ 7 


กิจกรรมการสอน


ทักษะการสังเกต
             
การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการสังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
นิวแมน (Neuman 1978: 26) ได้เสนอหลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

             1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
             2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
             3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่าง

ระมัดระวัง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า

สุชาติ โพธิวิทย์ (ม.ป.ป.:15) ได้กล่าวถึงการสังเกตที่สำคัญที่ควรฝึกให้แก่เด็ก มี 3 ทางคือ 

             1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป คือ ความสามารถในการใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5 อย่าง สังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง คือ การใช้ตาดูรูปร่าง ลักษณะ หูฟังเสียง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น และการสัมผัสจับต้องดูว่าเรียบ ขรุขระ แข็ง นิ่ม ฯลฯ
             2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การใช้เทอร์โมมิเตอร์ ตาชั่ง ไม้บรรทัด กระบอกตวง ช้อน ลิตร ถัง ฯลฯ ใช้เครื่องมือเหล่านี้วัดสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นปริมาณ เป็นจำนวน
             3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืช การเจริญ
เติบโตของสัตว์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงขนาดของผลึก การกลายเป็นไอของน้ำ ฯลฯ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6

- อาจารย์งดการเรียน การสอน เนื่องจากติดธุระของคณะศึกษาศาสตร์จึงไม่สามารถเข้าสอนได้

- อาจารย์ได้ฝากงานมาไว้ คือ ให้นักศึกษาทำ Blog ให้เสร็จ  โดยต้องโพสเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์

การทดลองวิทยาศาสตร์  ของเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์  ให้ครบ 3 ชิ้น

- อาจารย์จะตรวจภายในวันเสาร์  ถ้านักศึกษายังไม่ได้ดำเนินการจะถูกเช็คขาดในวันที่งดการเรียน

การสอน  และไม่มีคะแนนในงานของสื่อวิทยาศาสตร์


การทดลอง ชั้นน้ำ 6 สี


      อุปกรณ์

1. น้ำผึ้ง

2. กลีเซอรีน (glycerin)

3. น้ำยาล้างจาน

4. น้ำผสมสีเขียว

5. น้ำมันพืช

6. แอลกอฮอล์

7.ภาชนะใส่ของเหลว


วิธีทำ

1.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม คือ ของเหลวและภาชนะที่จะใส่

2.น้ำผึ้งใส่ภาชนะเพราะเป็นของเหลวที่หนาแน่นที่สุด  ตามด้วยกลีเซอรีน  น้ำยาล้างจาน  น้ำผสมสี  น้ำมันพืช

และแอลกอฮอร์

หมายเหตุ : ขั้นตอนการใส่น้ำลงภาชนะ  เป็นขั้นตอนที่ควรระวังมากที่สุด

หลักการวิทยาศาสตร์

              สารต่างชนิดมีความหนาแน่นที่ไม่เหมือนกัน  ทำให้เกิดการแยกตัวไม่ผสมกัน  การเรียงตัวเป็น

ชั้น ๆ จะไล่จากด้านล่างที่มีความหนาแน่นมากที่สุดขึ้นมาด้านด้านบนที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า

ครั้งที่ 5

- อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์


- มีนักศึกษาบางคนนำชิ้นงานมานำเสนอยังไม่ถูกต้อง จึงให้นำเสนอของเล่นชิ้นใหม่  


- อาจารย์ให้นักศึกษาหาการทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นตามมุมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์มานำ

เสนอในอาทิตย์หน้า


หมายเหตุ : ใครที่นำการทดลอง หรือ ของเล่นมานำเสนอแล้ว ก็ให้เอาส่วนที่เหลือนำเสนอในอาทิตย์

หน้าให้ครบ 3 ชิ้น

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

     วันนี้อาจารย์ได้นำกล้องของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

จากนั้นอาจารย์ก็ได้เปิด CD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ให้นักศึกษาดู

ก็จะมีการทดลอง โดยเอาผลไม้ไปปั่นแล้วบีบดูว่ามีน้ำอยู่ในผลไม้

หรือไม่ อย่างไร สรุป สิ่งต่างๆที่อยู่บนโลกนี้ล้วนมีน้ำเป็น

ส่วนประกอบ ซึ่งมนุษย์จะมีน้ำอยู่ในร่างกาย 70%

ส่วนผักผลไม้จะมีอยู่ 90%

คุณสมบัติของน้ำ

ของแข็ง

ของเหลว

แก๊ส

โดยการทดลองก็คือ ต้มน้ำแข็งจนเดือด จนกลายเป็นของเหลว ถ้า

เราต้มต่อไปก็จะมีไอขึ้นมา จากนั้นเอาจานที่มีน้ำแข็งไปวางไว้ข้าง

บน น้ำแข็งถูกไอน้ำจึงกลายเป็นหยดน้ำ (การควบแน่น)

ต่อมาเป็นการทดลอง แครอทลอยน้ำ ใส่น้ำลงไปในแก้ว จากนั้นใส่

เกลือลงไป ซึ่งเกลือจะมีน้ำหนักจึงมีโมเลกุลมากกว่า จึงมีแรงดัน

แครอทให้ลอยน้ำได้

ต่อมาเป็นการทดลองเกี่ยวกับแรงกดดันของน้ำ เราจะใส่น้ำเข้าไปใน

ขวดหนึ่งใบแล้วเจาะรูสามระดับเรียงกันลงมา ลองปิดรู เพื่อทำการ

ทดลองจะเห็นได้ว่าน้ำที่อยู่ด้านล่างสุดมีแรงกดดันมากสุดเพราะมี

แรงน้ำจากข้างบนกด สรุป แรงกดดันของน้ำ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ยิ่ง


ลึกมาก ยิ่งมีแรงกัดดันมาก

        ครั้งที่ 3 

  อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาจากที่เรียนในสัปดาห์ก่อนหน้านี้  





    



ครั้งที่ 2

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

   วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือ

  พิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัด

  ความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่

   ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด   ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล 

  คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้   มีความสามารถใน

การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์

พยานที่ตรวจสอบได้    วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่  ซึ่งเป็นสังคมแห่ง

ความรู้  ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์  เพื่อที่จะมีความรู้ความ

เข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น   และนำความรู้ไปใช้อย่างมี

เหตุผล   สร้างสรรค์  มีคุณธรรม